วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงสุนัข

สุนัข

         "สุนัข" จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของ ทั้งในด้านการดูแลขน การอาบน้ำ การดูแลสภาพทั่วไปของหู ตา จมูกและเล็บเท้า รวมไปถึงการดูแลสุขภาพของเหงือกและฟัน ตลอดจนการออกกำลังกาย การได้รับอาหารที่ดี และการได้รับการตรวจสุขภาพจากสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมออีกด้วย

 วิธีการดูแล สุนัข...เบื้องต้นที่เราควรทราบง่าย ๆ ดังนี้

         1. ไม่ควรเลี้ยงลูกสุนัขไว้บนพื้นที่ลื่น เช่น พื้นกระเบื้อง หินอ่อนขัด เป็นต้น เพราะจะทำให้ขาสุนัขไม่สวย มันไม่สวยยังหรอ ขาจะแบะออกคล้ายๆกับว่ายืนได้ไม่มั่นคง

         2. ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกสุนัขที่อายุยังไม่ถึง 3 เดือน ถ้ารู้สึกว่าสกปรกใช้ผ้าน้ำเช็ดขนข้างนอกก็พอ ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ อาบน้ำแล้วให้รีบเช็ดและเป่าให้แห้ง เดี๋ยวสุนัขจะเป็นหวัด

         3. ระวัง! อย่าให้ลูกสุนัขมุดใต้กรง หรือใต้อะไรที่แข็งและเป็นคาน เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าไปติด ถูกกดทับ หรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เส้นหลังเสียได้ (กระดูกสันหลังจะแอ่น)

         4. ควรดูแลรักษาปากและฟันของสุนัข อย่าให้กัดแทะของแข็งเกินไป เดี๋ยวฟันไม่แข็งแรง ควรหากระดูกเทียมให้สุนัขแทะเล่น เอากระดูกแบบสีขาวและมีฟลูออไรด์ด้วยจะได้ทำความสะอาดฟันสุนัขไปในตัว

         5. เมื่อสุนัขเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว (อายุ 7-8 เดือน) อย่าเพิ่งรีบให้ผสมพันธุ์ เพราะสุนัขยังไม่โตเต็มที่ อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตและทำให้ตัวเล็ก แล้วก็อาจจะแท้งหรือให้ลูกที่ไม่สมบูรณ์

         6. เมื่อเริ่มโตสุนัขจะเริ่มมีขนร่วง ไม่ต้องแปลกใจเป็นธรรมชาติของสุนัขที่มีการเจริญเติบโต

         7. อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารเม็ด เพราะสะดวกรวดเร็ว ถ้าให้อาหารธรรมดา(ทำเอง) สุนัขจะเลือกกินแล้วจะไม่กินอาหารเม็ด อย่าให้แทะกระดูกจริงเพราะเดี๋ยวจะไปทิ่มเอากระเพาะสุนัขจะติดคอได้ง่าย

         8. การฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ ควรทำตามตารางที่สัตวแพทย์แนะ

การเลี้ยงปลาทอง

       lost.jpg (6426 bytes) ปลากัด Betta splendens Regan   เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยได้ส่งปลากัดไปขายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท
ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าปลาเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยอาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ
ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบางสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่รูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น สีสันสวยสด เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย ต่อมาได้มีผู้พยายามคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะเช่นนี้ว่าปลากัดจีนหรือปลากัดเขมร ต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม Siamese fighting fish
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด   เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้เมื่ออายุประมาณ 1  1/2 -2 เดือน การเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรีบแยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดควรนำมาใช้เลี้ยงปลากัดได้แก่ ขวด(สุรา) ชนิดแบนบรรจุน้ำได้ 150 ซีซี เพราะสามารถเรียงกันได้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ การแยกเพศจะสังเกตเห็นว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจนและขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลาดพาดตามยาวลำตัว 2-3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้
น้ำที่ใช้เลี้ยง ปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6.5-7.5 มีความกระด้าง 75-100 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีความเป็นด่าง 150-200 มิลลิกรัมต่อลิตร ควรบรรจุน้ำลงในขวดเพียง 1/2 ขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศได้สัมผัสกับผิวน้ำ
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา ปลากัดเป็นปลาที่ชอบกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร อาหารที่เหมาะสมจะใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไรสีน้ำตาล (Artemia) ที่มีชีวิต การให้อาหารควรให้วันละ 1 ครั้ง ให้ปริมาณที่พอดีปลากินอิ่ม อาหารที่ใช้เลี้ยงทุกครั้งควรล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5-1.0 กรัม/ลิตร) เป็นเวลา 10-20 วินาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารหลังจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง การถ่ายเทน้ำควรกระทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ปลากัด คือช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน โดยอุณหภูมิน้ำควรอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์   ปลาที่นำมาทำการเพาะพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่ 5-6 เดือนขึ้นไป โดยปลาจะให้ไข่ครั้งละประมาณ 500-1,000 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตเห็นความสมบูรณ์เพศของปลาได้ชัดเจน ในการคัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์ มีหลักที่ควรปฏิบัติดังนี้           fish5.gif (7106 bytes)
ปลาเพศผู้   คัดปลาที่แข็งแรง ปราดเปรียว ลักษณะสีสดสวย ชอบสร้างรังซึ่งเรียกว่า “หวอด” โดยการพ่นฟองอากาศที่มีน้ำเมือกจากปากและลำคอผสมด้วย ซึ่งแสดงถึงว่าปลาเพศผู้มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์
ปลาเพศเมีย   คัดเลือกปลาที่แข็งแรง สังเกตบริเวณท้องมีลักษณะอูมเป่งและบริเวณใต้ท้องจะมีตุ่มสีขาวใกล้กับรูก้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งตุ่มสีขาวนี้เรียกกันว่า “ไข่น้ำ”
วิธีการเพาะพันธุ์
    1. นำขวดปลาเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่มาวางติดกัน ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า “เทียบคู่” ซึ่งควรจะเป็นบริเวณที่ปราศจากสิ่งรบกวน จะทำให้ปลาตกใจ ใช้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3-10 วัน
    2. จากนั้นนำปลาเพศผู้และเพศเมีย ใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับผสมพันธุ์ เช่น ขันพลาสติก โหลแก้ว กาละมัง ตู้กระจกหรืออ่างดิน แล้วใส่พันธุ์ไม้น้ำที่แช่ด่างทับทิมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งชนิดพันธุ์ไม้น้ำที่นิยมใช้ ได้แก่สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระรอก จอก ใบผักตบชวาเป็นต้น
    3. เมื่อปลาสามารถปรับตัวให้ชินกับสภาพในภาชนะ (ประมาณ 1-2 วัน) ปลาเพศผู้จะเริ่มก่อหวอดติดกับพันธุ์ไม้
    4. หลังจากสร้างหวอดเสร็จ ปลาเพศผู้จะพองตัวกางครีบ ไล่ต้อนตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอด
    5. ขณะที่ตัวเมียลอยตัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำ ปลาตัวผู้จะรัดตัวเมียบริเวณช่องอวัยวะเพศ
    6. จากนั้นไข่ก็จะหลุดออกมา พร้อมกับเพศผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาเพศผู้จะตามลงไปใช้ปากดูดไข่อมไว้ ว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่เข้าไปไว้ในฟองอากาศจนกว่าจะหมด
    7. เมื่อสิ้นสุดการวางไข่ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่เพียงลำพัง และจะไล่ต้อนปลาเพศเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะ
    8. หลังจากนั้นรีบนำปลาเพศเมียออกจากภาชนะเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศเมียกินไข่
    9. ปล่อยให้ปลาเพศผู้ดูแลไข่ 2 วัน จึงแยกเพศผู้ออก

การอนุบาลลูกปลา ไข่ปลากัดจะฟักเป็นตัวหลังจากได้รับการผสมน้ำเชื้อประมาณ 36 ชั่วโมง โดยในช่วงแรก จะมีถุงอาหาร (Yolk sac) ติดตัวมาด้วย ดังนั้นช่วง 3-4 วันแรก จึงยังไม่ต้องให้อาหาร เป็นเวลา 3—5 วัน แล้วจึงเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนของไรแดง (Moina) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นไรแดงเต็มวัย เลี้ยงต่อไปจนกระทั่งปลาสามารถกินลูกน้ำได้ และผู้เลี้ยงสามารถแยกเพศปลากัดได้เมื่อปลามีอายุประมาณ 1 ? เดือนขึ้นไป
http://www.fisheries.go.th/Dof_thai/knownledge/aquarium/fighting_fish/fighting_fish_index.htm

การเลี้ยงเป็ดไข่

การเลี้ยงเป็ดไข่“ไข่เป็ด” เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง และนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี แต่ในปัจจุบันไข่เป็ดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค เพราะเป็ดไข่เลี้ยงค่อนข้างยาก หากเป็ดเกิดอาการตกใจหรือดูแลไม่ดีพอก็จะไม่ยอมไข่ การเลี้ยงเป็ดไข่นิยมเลี้ยงเป็ดพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์กากีแคมเบลล์กับพันธุ์พื้นเมือง เพราะเลี้ยงง่ายกว่า ทนทาน ให้ไข่ดกประมาณ 260 ฟองต่อปี และให้เนื้อดี
ลักษณะของเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ผสมกับเป็ดพื้นเมือง จะมีขนสีน้ำตาล ขนที่หลังและปีกมีสีสลับอ่อนกว่า ปากดำค่อนข้างไปในทางเขียว จงอยปากต่ำ ตาสีน้ำตาลเข้ม ตัวเมียตัวโตเต็มที่หนักประมาณ 2-5 กิโลกรัม จะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 4 เดือนครึ่ง


การเลี้ยงเป็ดไข่
เตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ทำความสะอาดโรงเรือน ปรับพื้นคอก โรยปูนขาวและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งเอาไว้ประมาณ 7 วัน ควรเป็นโรงเรือนที่กันลมและกันฝน อากาศถ่ายเทได้ดี พื้นเป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ
โรงเรือนต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เป็นลานกว้าง มีหลังคา กันแดด กันลม กันฝน ให้เป็ดวิ่งออกกำลังกายได้ จัดที่ให้อาหารและน้ำ
อีกส่วนควรอยู่ริมน้ำ มีตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต เพื่อให้เป็ดได้ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย
การให้อาหาร คือ หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น
ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์ จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด ตามแอ่ง มุมต่าง ๆ ของคอก
วิธีการเก็บไข่ คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ 3 ฟอง จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน

การจัดจำหน่าย
ไข่เป็ดที่คัดขนาดแล้ว จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ เพื่อนำไปส่งอีกทอดหนึ่ง การเลี้ยงเป็ดไข่ จะเก็บไข่ขายได้ในระยะเวลายาว ขายได้กำไรดี เพราะเป็ดสามารถไข่ได้นานถึง 2 ปี หลังจากที่เป็ดหมดระยะไข่แล้ว ยังสามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ เพื่อประกอบอาหารได้อีกด้วย

เคล็ดลับ
เป็ดไข่ที่ไม่ไข่ สามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ มูลเป็ดทำเป็นปุ๋ย ในบ่อน้ำใช้เลี้ยงเป็ดยังสามารถเลี้ยงปลาได้ โดยไม่ต้องเปลืองค่าอาหารเป็นการเพิ่มรายได้ทางอ้อม
http://www.baanmaha.com/community/thread16479.html

การเลี้ยงปลาทอง



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ปลาทอง เป็นปลาสวยงามอันดับต้น ๆ ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง เพราะสวยงามและดูมีชีวิตชีวา แถมชื่อยังเป็นมงคลอีกด้วย นักเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น จึงเลือกเลี้ยงเจ้าปลาชนิดนี้ไว้ดูเล่นกันเป็นจำนวนมาก

          แม้ว่าปลาทอง จะเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงไม่ยาก แต่หลายต่อหลายคนก็อกหักจากการเลี้ยงปลาทองมาแล้วไม่น้อย เนื่องจากปลาทองจัดเป็นปลาที่ตายได้ง่าย ๆ หากไม่รู้วิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้อง และวันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ ในการเลี้ยงมาฝากกัน

          ก่อนอื่นมาทำความรู้จักปลาทองที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในไทย แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ 

          1.ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ มีลักษณะเด่นบริเวณหัว ที่จะมีก้อนเนื้อหุ้มอยู่คล้ายสวมหัวโขน

          2.ปลาทองพันธุ์ออรันดา ลำตัวค่อนข้างยาว ครีบหางอ่อนช้อยเป็นพวงสวยงาม

ภาชนะที่ใช้เลี้ยง

          ในการเลี้ยงปลาทองให้สุขภาพแข็งแรง และมีสีสันสดใส จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง และภาชนะที่ใช้เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ใช้เลี้ยงปลาทองได้ 12 ตัว แต่ถ้าเลี้ยงในอ่างซีเมนต์ ต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ควรเป็นสถานที่ไม่อับแสง และแสงไม่จ้าจนเกินไป ทั้งนี้ ควรใช้ตาข่ายพรางแสง ประมาณ 60% ปิดปากบ่อ ส่วนสภาพของบ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียง เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
   
การให้อาหาร

          แนะนำว่าควรให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้ง โดยการให้แต่ละครั้งไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาทองอ้วน และเสี่ยงตายได้ เนื่องจากปลาทองค่อนข้างกินจุ ดังนั้นอย่าตามใจปากปลาทอง ส่วนอาหารเสริมอย่างลูกน้ำและหนอนแดง สามารถให้เสริมได้โดยดูความอ้วนและความแข็งแรงของตัวปลา ลักษณะปลาที่ตัวใหญ่หรืออ้วน สังเกตได้จากบริเวณโคนหางจะใหญ่แข็งแรงและมีความสมดุลกับตัวปลา และเมื่อมองจากมุมด้านบนจะสังเกตเห็นความกว้างของลำตัวอ้วนหนาและบึกบึน ขณะที่สีบนตัวปลาจะต้องมีสีสดเข้ม

คุณภาพของน้ำ

          น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีน ควรเตรียมน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลาทุกครั้ง โดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนระเหย หรืออาจติดตั้งเครื่องกรองน้ำใช้สารเคมีโซเดียมไธโอซัลเฟตละลายลงในน้ำ มีคุณสมบัติในการกำจัดคลอรีน แต่ควรดูสัดส่วนในการใช้ เพราะสารเคมีพวกนี้มีผลข้างเคียงต่อปลาหากใช้ไม่ถูกวิธี 

อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ

          ปลาทองส่วนใหญ่เคยชินกับสภาพน้ำที่ต้องมีออกซินเจน ดังนั้น อย่างน้อยในภาชนะเลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบา ๆ ไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำ เพราะการหมุนเวียนของน้ำ เป็นการทำให้เกิดการเติมออกซิเจน และปลาทองขนาดใหญ่ย่อมต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็ก ส่วนเรื่องอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมคือ 28-35 องศาเซลเซียส แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว หากซื้อปลาบรรจุถุงมา เวลาจะปล่อยปลาลงในอ่างเลี้ยง ควรแช่ถุงลงในอ่างเลี้ยง 10-15 นาที เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำในถุงกับในอ่างถ่ายเทเข้าหากันจนใกล้เคียงกัน แล้วค่อยปล่อยปลาลงไป

          การเลี้ยงปลาทอง ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ใส่ใจกับภาชนะเลี้ยง สภาพน้ำ การให้อาหาร และหมั่นสังเกตเจ้าปลาตัวโปรดของคุณอย่างสม่ำเสมอ ก็จะได้ปลาทองสวย ๆ ไว้เชยชมไปนาน ๆ
http://pet.kapook.com/view19268.html

การเลี้ยงกระรอก

กระรอกเป็นสัตว์ที่มีขนปุยตัวเล็กๆ อยู่ในตระกูลสัตว์จำพวกกัดแทะเช่นเดียวกับกระต่ายและหนู อายุโดยเฉลี่ยของกระรอกประมาณ 5-6 ปี แต่บางตัวอายุยืนนานถึง 20 ปี
กระรอก จะหาอาหารจากหลายๆแหล่ง ถ้ามีอาหารที่อุดมสมบูรณ์มันจะเก็บไว้กินในวันต่อไป ดังนั้นอาหารที่คนให้จึงไม่แตกต่างกันมากนัก กระรอกส่วนใหญ่จะกินลูกนัต เมล็ดพืชและผลไม้ แต่อาหารที่มันชอบมากที่สุดคือลูกนัต (ถั่ว) และเมล็ดของดอกไม้ เวลาให้มันกินก็อาจจะหั่นเป็นชิ้นบางๆ เช่นแอปเปิ้ล หรือลูกแพร์ ส่วนเครื่องดื่มคือน้ำเปล่าที่สะอาด การที่กระรอกมีสุขภาพดีจะทำให้มันมีขนฟูฟ่องโดยที่เราไม่ต้องไปช่วยแต่ง
แต่ มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ห้ามทำเด็ดขาดคือ “การให้กระรอกกินอาหารที่มือของเรา” เพราะมันอาจจะกัดมือเราด้วยฟันที่แหลมคม อีกอย่างหนึ่งคือ “อย่าให้อาหารที่เค็ม เพราะมันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระรอกตายก่อนวัยอันควร”
สำหรับ กรงของกระรอกโดยทั่วไปมีขนาดกว้าง 8 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว สูง 12 นิ้ว และปากของกรงกว้าง 3 นิ้ว จะตกแต่งกรงให้สวยงามอย่างไรก็ได้ นอกจากนั้นก็หากิ่งไม้ยาวพอประมาณสักอันมาไว้สำหรับให้มันกัดเล่น และหาเศษฟางหรือเศษผ้านิดหน่อย เพื่อมันจะได้เอาไว้ทำรัง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการที่กระรอกจะซ่อนตัวไว้หรือเป็นที่นอนหลับ ลองไปที่โรบินสัน รัชดาฯ มีอยู่ร้านหนึ่งขายอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง รวมถึงของเล่นด้วย
แต่สรุปแล้ว ไม่สนับสนุนให้เลี้ยงกระรอกเท่าใดนัก เพราะธรรมชาติของมันไม่ใช่สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข กระรอกต้องการที่จะวิ่งหรือปีนป่ายตามต้นไม้อยู่ในที่ที่กว้าง และปลอดโปร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าหลังบ้านมีต้นไม้ ก็ปล่อยให้มันวิ่งเล่นให้สนุกดีกว่า
เพิ่มเติมการเลี้ยงลูกกระรอก
เพิ่ง ได้ลูกกระรอกมาเลี้ยง 2 ตัว มันตกมาจากต้นไม้พร้อมรัง มันตัวเล็กมากยังไม่ลืมตาเลยค่ะ ตอนนี้ดิฉันให้มันกินนมสด มันก็กินทีละนิด และก็ให้มันนอนในรังเดิมของมัน ดิฉันกลัวมันจะตายจึงอยากทราบวิธีการเลี้ยงลูกกระรอกที่ถูกต้อง การให้อาหาร และอาหารที่จะให้ในแต่ละช่วงอายุด้วยค่ะ/อบสวาท งามเหลือ

การเลี้ยงไก่

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
บทความน่ารู้ : เรื่องการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน
การเลื้ยงไก่แบบพื้นบ้าน เพื่vให้ได้ผลตอบแทนทีดีนั้น จำเป็นต้องอาศัยหลัก การเลี้ยงไก่แบบอุตสาหกรรม หรือแบบกื่งอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งต้อง พิจารณาปัจจัยส่าคัญที่จำเป็น เช่น สภาพและลักษณะโรงเรือน คุณภาพ อาหาร วัคชีนปัองกันโรค ยา และยาปฎิชีวนะส่าหรับใช้ป้องกันและรักษาโรค และ ปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งถ้าเกษตรกรนำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาอย่างละเอียดทั้งหมด คงไม่มีผู้ใดที่คิดอยากจะปรับปรุงวิธีการเลี้ยงให้แตกต่างจากการเลี้ยงแบบ ตามยถากรรม เพราะขบวนการจัดการค่อนข้างจะยุ่งยากและซับช้อนพอสมควร อย่างใดก็ตาม เกษตรกรก็สามารถที่จะดัดแปลงหลักการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม นำมาใช้กับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านได้ดีเช่นกัน ถึงแม้ว่าการดัดแปลงวิธีดังกล่าวอาจ เป็นการเพิ่มต้นทุน แต่ผลทีได้นั้นคุ้มค่ากว่าการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม
http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=9482

การเลี้ยงกระต่าย

การดูแลกระต่าย

การดูแลกระต่าย
บทความน่ารู้ : เรื่องการดูแลกระต่าย
ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน
การดูแลกระต่ายไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นงานที่ต้องกระทำเป็นกิจวัตร ทุกวัน ทุกสัปดาห์ และทุกเดือน การเลี้ยงกระต่ายนั้นสำคัญที่ ทุก ๆ สิ่งต้องสดและสะอาด เราอาจจัดแบ่งลักษณะงานที่ต้องทำให้กับกระต่ายไว้ เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติดังนี้ ...

๐ ทุกวัน ๐
- ตรวจสอบสุขภาพกระต่ายประจำวัน สังเกตุการนั่ง เดิน ยืน ตรวจเล็บ สุขภาพขน และสุขภาพหู

ขอบคุณ ชมรมคนรักกระต่ายแห่งประเทศไทยที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ค่ะ

- ปล่อยกระต่ายวิ่งเล่น เราอาจกั้นพื้นที่บางส่วนไว้ให้กระต่ายได้ออกกำลังกายในช่วงที่เราทำความ สะอาดกรงของกระต่ายในตอนเช้า-เย็น (แล้วแต่ความสะดวกของผู้เลี้ยง)

- เก็บเศษผักสด ผลไม้เก่าที่กระต่ายทานไม่หมดทิ้ง เพราะเศษอาหารที่เหลือตกค้างนี้ หากกระต่ายทานเข้าไปอีกอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

- เก็บเศษอาหารเม็ดเก่าทิ้ง เพราะอาหารเม็ดที่เหลือเหล่านี้จะเกิดการบวมชื้น กระต่ายจะไม่ทานส่วนที่เหลือ ดังนั้นในแต่ละมื้ออาหารควรกำหนดปริมาณอาหารเม็ดให้พอดีสำหรับ 1 มื้อเสมอ

- เก็บเศษหญ้าสด/หญ้าแห้งทิ้ง เศษหญ้าเหล่าเมื่อทิ้งไว้ในกรงอาจเกิดการขึ้นราหรือปนเปื้อนกับมูลหรือฉี่กระต่าย

- ทำความสะอาดถาดรองกรง

- เทน้ำเก่าในขวดน้ำทิ้ง แล้วเติมน้ำสะอาดให้เต็ม

- ให้อาหารเม็ด หญ้าสด/หญ้าแห้ง หรือผักสด/ผลไม้ โดยกะปริมาณอาหารให้กระต่ายทานหมดใน 1 มื้อ

๐ ทุกสัปดาห์ ๐
- ล้างทำความสะอาดขวดน้ำ กระถางใส่อาหาร ที่แขวนหญ้า ด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ต้องมั่นใจว่าไม่มีสารตกค้างหลงเหลือก่อนนำกลับไปใช้เลี้ยงกระต่ายอีกครั้ง

- ทำความสะอาดถาดรองกรง และตากแดดให้แห้งสนิท

๐ ทุกเดือน ๐
- ทำความสะอาดกรง ถาดรองกรง พื้นใต้กรง ผนังกำแพง ในบริเวณที่ใช้เลี้ยงกระต่าย ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกให้สะอาดก่อนนำกระต่ายกลับเข้ากรง

- ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงกระต่ายทั้งหมด รวมทั้งของเล่นของกระต่าย

หากเราปฏิบัติได้ในทุก ๆ ข้อ จนเป็นความเคยชินแล้ว จะทำให้กระต่ายนั้นมีสุขอนามัยที่ดี ย่อมส่งผลให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของกระต่ายนั้นดีเช่นกัน กระต่ายที่มีสุขภาพสมบูรณ์ จะร่าเริงแจ่มใส สะอาดสะอ้าน น่ารักน่าอุ้ม ขนสวยนุ่ม และขี้เล่น


http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=9481